วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กันยายน 2556
           วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.


อาจารย์ไปราชการต่างจังหวัดค่ะ แต่ได้มอบหมายงานไว้ ใครที่ยังไม่ส่งงานชิ้นใดให้นำมาส่งในสัปดาห์หน้าค่ะและดิฉันได้หาความรู้เพิ่มเติม

          5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล
วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือถ้าเด็กๆ เรียวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหมควรจะให้เด็กอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์รู้อย่างไรคำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่

แท้ จริงแล้ว
วิทยาศาสตร์คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนัก
วิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย

ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่าย
อนุบาล กล่าวว่า "เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาลแนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"


http://www.wattanasatitschool.com/template/lib_images/lazy.gif

ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาและอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทาวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาข
วิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการเข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

"สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทา
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็ก
อนุบาลาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด

ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้าน
วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น