วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย  Thesis

          ความสำคัญและคุณค่าของทักาะกระบวนการวิทยาศาสตรืที่จะทำให้เด็กเป็นคนคิดอย่างมีเหตุผลรู้จักการแสวงหาความรู้รู้จักการคิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีระบบรู้จักการแก้ปัญหาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดประสบการณืแบบโครงการมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย
         การสอนแบบจิตปัญญาน่าจะเป็นรูปแบบการสอนหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้เพราะเป็นการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา มีวิธีการจัดกิจกรรมที่ให้เด็กค้นหาความรู้ด้วยตนเองได้โดยใช้ประสทสัมผัสทั้งห้าลงมือปฏิบัติจริงการทำกิจกรรมกลุ่มมีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแสดงให้เห้นสิ่งที่ตนเรียนรู้เพิ่มเติมโดยครูเป็นผู้สังเกต ประเมินผล กระตุ้นสนับสนุนให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญาและมีความสุขในการเรียนรู้

        จะกระตุ้นความสนใจให้กับเด็กปฐมวัยได้ศึกษาค้นคว้าทดลองในการทำกิจกรรมและสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการศึกษาหาความรู้ที่ตนเองสนใจเปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้าอย่างอิสระมีการใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรม ได้ทำกิจกรรมเต็มตามศักยภาพที่ตนเองมีอยู่
 ความสำคัญ

  • เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการให้กับครู ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณืเด็กปฐมวัย
  • เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการท่งวิทยาศาสตร์โดยยึดผุ้เรียนเป็นสำคัญ
  • เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาให้กับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด้กปฐมวัย
  • เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกทักษะ
  • เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการทักวิทยาศาสตร์ก่อนและหลัง

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556


 30 กันยายน 2556
           วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 EAED3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.


            วันนี้อาจารย์ให้ทุกๆคนที่ยังค้างงานมาเคลียร์งานที่ค้างส่งและคนที่ยังไม่ได้ทดลองอาจารย์ให้มาออกมานำเสนอการทดลองให้เสร็จ
ดิฉันได้ทดลองวิทยาศาสตร์

พริกไทยไต่น้ำ

อุปกรณ์
 1. พริกไทย (อย่าลืมนะเป็นพระเอกเลยล่ะ)
2. จานแบน 1 ใบ
3. น้ำเปล่า
4. สบู่ (อันนี้เป็นนางเอกค่ะ)

วิธีการทดลอง
1.  รินน้ำใส่จาน แล้วโรยพริกไทยลงไป พริกไทยจะกระจายบนผิวน้ำทั่วจาน

2.  นำสบู่ก้อนแตะผิวน้ำ น้องๆจะเห็นว่าเมล็ดพริกไทยเริ่มแตกระจายออกไปรวมกันด้านข้างขอบจานด้านใน

ผลจากการทดลอง

              ผิวหน้าของของเหลวเมื่อสัมผัสกับอากาศจะเกิดแรงตึงผิว ที่มีลักษณะเป็นผิวชนิดหนึ่งบนของเหลว ผงพริกไทยแต่ละชิ้นถูกโมเลกุลของน้ำดึงดูดอยู่ด้วยแรงที่เท่ากันทุกด้าน เมื่อเราจุ่มสบู่ลงไป สบู่จะไปเปลี่ยนแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้แรงดึงดูดของน้ำในบริเวณนั้นอ่อนตัวลง โมเลกุลของน้ำที่ไม่มีสบู่ผสมอยู่จะมีแรงดึงมากกว่า จึงดึงผงพริกไทยบนผิวน้ำไปยังขอบจาน



วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

23 กันยายน 2556
           วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

EAED3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.

     
      จากคาบที่แล้วนักศึกษาได้ลงความคิดเห็นกันว่า จะทำเมนูข้าวผัดและให้เตรียมกะทะมา ส่วนเครื่องปรุงต่างๆพื่อนกลุ่มที่นำเสนอข้าวผัดได้นำมาแจกให้เพื่อนๆ



  วันนี้จึงเริ่มทำเมนูข้าวผัดอะไรเอ๋ย โดยแสดงบทบาทสมมุติ  ให้กลุ่มเมนูข้าวผัดอะไรเอ๋ยแสดงเป็นคุณครูและให้ 4 กลุ่มที่เหลือเป็นนักเเรียน  คุณครูจะสอนทำตามขั้นตอน และให้คำถามเชิงความคิดสร้างสรรค์ต่อเด็ก  ให้เด็กคิดไปทำไปในขณะที่ทำข้าวผัดด้วย  






16 กันยายน 2556
           วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.

           อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องของการส่งงานและได้บอกว่าสัปดาห์ต่อไปอาจารย์ตฤณจะมาสอนในเรื่องของการเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน 5 กลุ่ม แล้วให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มมารับอุปกรณ์  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอเรื่องข้าวผัดมีดังนี้ 

ส่วนประกอบของข้าวผัด 
    
      วัตถุดิบ 
  • ข้าว 
  • ไข่ไก่
  • แครอท
  • มะเขือเทศ 
  • ข้าวโพด
  • เนื้อ หมู กุ้ง ไก่ หมึก
  • ต้นหอม
  • ถั่ว
  • กระเทียม
         เครื่องปรุงของข้าวผัด
  •  น้ำมัน
  •  น้ำปลา
  •  น้ำตาล
  • รสดี
  •  ซีอิ๊วขวา
  •  ซอสหอยนางรม
        อุปกรณ์
  • กระทะ
  •  ตะหลิว
  •  กะละมัง
  • ช้อน/จาน
  • มีด/เขียง

      ประโยชน์ของข้าวผัด
  • ทำให้ร่างกายแข็งแรง
  • ได้รับสารอาหารครบ5หมู่
  • ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
   
แผ่นที่อาจารย์ให้เขียนขั้นตอนวิธีการทำข้าวผัด
 1. ล้างเนื้อสัตว์ ล้างผัก  เตรียมวัตถุดิบ หั่นเนื้อหมู หั่นผัก
 2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันแล้วรอให้น้ำมันร้อน
 3. โขลกกระเทียมใส่กระทะ
 4. พอกระเทียมเริ่มหอมแล้วนำเนื้อที่เตรียมไว้
 5. ผัดให้สุก ใส่ข้าวลงไปและใส่ไข่ตามแล้วผัดให้เข้ากัน แล้วใส่ผักลงไป
 6. ใส่เครื่องปรุงลงไป (ปรุงรสตามใจชอบ)
 7. ตักใส่จานพร้อมรับประทาน ตกแต่งให้เรียบร้อย

แผ่นที่ 3 อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนการทำข้าวผัดซึ่งกลุ่มเพื่อนๆได้ทำอาหารดังนี้
 นุ่น        แซนวิสไข่
 หยก      วุ้นมะพร้าว
 แอม      แกงจืดหมูสับ
 อีฟ        ไข่ตุ๋น 

บรรยากาศในการเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นทีม



                               








           
กันยายน 2556
           วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.


อาจารย์ไปราชการต่างจังหวัดค่ะ แต่ได้มอบหมายงานไว้ ใครที่ยังไม่ส่งงานชิ้นใดให้นำมาส่งในสัปดาห์หน้าค่ะและดิฉันได้หาความรู้เพิ่มเติม

          5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล
วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือถ้าเด็กๆ เรียวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหมควรจะให้เด็กอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์รู้อย่างไรคำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่

แท้ จริงแล้ว
วิทยาศาสตร์คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนัก
วิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย

ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่าย
อนุบาล กล่าวว่า "เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาลแนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"


http://www.wattanasatitschool.com/template/lib_images/lazy.gif

ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาและอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทาวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาข
วิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการเข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

"สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทา
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็ก
อนุบาลาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด

ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้าน
วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ