วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย  Thesis

          ความสำคัญและคุณค่าของทักาะกระบวนการวิทยาศาสตรืที่จะทำให้เด็กเป็นคนคิดอย่างมีเหตุผลรู้จักการแสวงหาความรู้รู้จักการคิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีระบบรู้จักการแก้ปัญหาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดประสบการณืแบบโครงการมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย
         การสอนแบบจิตปัญญาน่าจะเป็นรูปแบบการสอนหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้เพราะเป็นการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา มีวิธีการจัดกิจกรรมที่ให้เด็กค้นหาความรู้ด้วยตนเองได้โดยใช้ประสทสัมผัสทั้งห้าลงมือปฏิบัติจริงการทำกิจกรรมกลุ่มมีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแสดงให้เห้นสิ่งที่ตนเรียนรู้เพิ่มเติมโดยครูเป็นผู้สังเกต ประเมินผล กระตุ้นสนับสนุนให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญาและมีความสุขในการเรียนรู้

        จะกระตุ้นความสนใจให้กับเด็กปฐมวัยได้ศึกษาค้นคว้าทดลองในการทำกิจกรรมและสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการศึกษาหาความรู้ที่ตนเองสนใจเปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้าอย่างอิสระมีการใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรม ได้ทำกิจกรรมเต็มตามศักยภาพที่ตนเองมีอยู่
 ความสำคัญ

  • เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการให้กับครู ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณืเด็กปฐมวัย
  • เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการท่งวิทยาศาสตร์โดยยึดผุ้เรียนเป็นสำคัญ
  • เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาให้กับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด้กปฐมวัย
  • เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกทักษะ
  • เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการทักวิทยาศาสตร์ก่อนและหลัง

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556


 30 กันยายน 2556
           วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 EAED3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.


            วันนี้อาจารย์ให้ทุกๆคนที่ยังค้างงานมาเคลียร์งานที่ค้างส่งและคนที่ยังไม่ได้ทดลองอาจารย์ให้มาออกมานำเสนอการทดลองให้เสร็จ
ดิฉันได้ทดลองวิทยาศาสตร์

พริกไทยไต่น้ำ

อุปกรณ์
 1. พริกไทย (อย่าลืมนะเป็นพระเอกเลยล่ะ)
2. จานแบน 1 ใบ
3. น้ำเปล่า
4. สบู่ (อันนี้เป็นนางเอกค่ะ)

วิธีการทดลอง
1.  รินน้ำใส่จาน แล้วโรยพริกไทยลงไป พริกไทยจะกระจายบนผิวน้ำทั่วจาน

2.  นำสบู่ก้อนแตะผิวน้ำ น้องๆจะเห็นว่าเมล็ดพริกไทยเริ่มแตกระจายออกไปรวมกันด้านข้างขอบจานด้านใน

ผลจากการทดลอง

              ผิวหน้าของของเหลวเมื่อสัมผัสกับอากาศจะเกิดแรงตึงผิว ที่มีลักษณะเป็นผิวชนิดหนึ่งบนของเหลว ผงพริกไทยแต่ละชิ้นถูกโมเลกุลของน้ำดึงดูดอยู่ด้วยแรงที่เท่ากันทุกด้าน เมื่อเราจุ่มสบู่ลงไป สบู่จะไปเปลี่ยนแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้แรงดึงดูดของน้ำในบริเวณนั้นอ่อนตัวลง โมเลกุลของน้ำที่ไม่มีสบู่ผสมอยู่จะมีแรงดึงมากกว่า จึงดึงผงพริกไทยบนผิวน้ำไปยังขอบจาน



วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

23 กันยายน 2556
           วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

EAED3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.

     
      จากคาบที่แล้วนักศึกษาได้ลงความคิดเห็นกันว่า จะทำเมนูข้าวผัดและให้เตรียมกะทะมา ส่วนเครื่องปรุงต่างๆพื่อนกลุ่มที่นำเสนอข้าวผัดได้นำมาแจกให้เพื่อนๆ



  วันนี้จึงเริ่มทำเมนูข้าวผัดอะไรเอ๋ย โดยแสดงบทบาทสมมุติ  ให้กลุ่มเมนูข้าวผัดอะไรเอ๋ยแสดงเป็นคุณครูและให้ 4 กลุ่มที่เหลือเป็นนักเเรียน  คุณครูจะสอนทำตามขั้นตอน และให้คำถามเชิงความคิดสร้างสรรค์ต่อเด็ก  ให้เด็กคิดไปทำไปในขณะที่ทำข้าวผัดด้วย  






16 กันยายน 2556
           วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.

           อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องของการส่งงานและได้บอกว่าสัปดาห์ต่อไปอาจารย์ตฤณจะมาสอนในเรื่องของการเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน 5 กลุ่ม แล้วให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มมารับอุปกรณ์  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอเรื่องข้าวผัดมีดังนี้ 

ส่วนประกอบของข้าวผัด 
    
      วัตถุดิบ 
  • ข้าว 
  • ไข่ไก่
  • แครอท
  • มะเขือเทศ 
  • ข้าวโพด
  • เนื้อ หมู กุ้ง ไก่ หมึก
  • ต้นหอม
  • ถั่ว
  • กระเทียม
         เครื่องปรุงของข้าวผัด
  •  น้ำมัน
  •  น้ำปลา
  •  น้ำตาล
  • รสดี
  •  ซีอิ๊วขวา
  •  ซอสหอยนางรม
        อุปกรณ์
  • กระทะ
  •  ตะหลิว
  •  กะละมัง
  • ช้อน/จาน
  • มีด/เขียง

      ประโยชน์ของข้าวผัด
  • ทำให้ร่างกายแข็งแรง
  • ได้รับสารอาหารครบ5หมู่
  • ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
   
แผ่นที่อาจารย์ให้เขียนขั้นตอนวิธีการทำข้าวผัด
 1. ล้างเนื้อสัตว์ ล้างผัก  เตรียมวัตถุดิบ หั่นเนื้อหมู หั่นผัก
 2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันแล้วรอให้น้ำมันร้อน
 3. โขลกกระเทียมใส่กระทะ
 4. พอกระเทียมเริ่มหอมแล้วนำเนื้อที่เตรียมไว้
 5. ผัดให้สุก ใส่ข้าวลงไปและใส่ไข่ตามแล้วผัดให้เข้ากัน แล้วใส่ผักลงไป
 6. ใส่เครื่องปรุงลงไป (ปรุงรสตามใจชอบ)
 7. ตักใส่จานพร้อมรับประทาน ตกแต่งให้เรียบร้อย

แผ่นที่ 3 อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนการทำข้าวผัดซึ่งกลุ่มเพื่อนๆได้ทำอาหารดังนี้
 นุ่น        แซนวิสไข่
 หยก      วุ้นมะพร้าว
 แอม      แกงจืดหมูสับ
 อีฟ        ไข่ตุ๋น 

บรรยากาศในการเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นทีม



                               








           
กันยายน 2556
           วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.


อาจารย์ไปราชการต่างจังหวัดค่ะ แต่ได้มอบหมายงานไว้ ใครที่ยังไม่ส่งงานชิ้นใดให้นำมาส่งในสัปดาห์หน้าค่ะและดิฉันได้หาความรู้เพิ่มเติม

          5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล
วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือถ้าเด็กๆ เรียวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหมควรจะให้เด็กอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์รู้อย่างไรคำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่

แท้ จริงแล้ว
วิทยาศาสตร์คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนัก
วิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย

ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่าย
อนุบาล กล่าวว่า "เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาลแนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"


http://www.wattanasatitschool.com/template/lib_images/lazy.gif

ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาและอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทาวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาข
วิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการเข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

"สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทา
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็ก
อนุบาลาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด

ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้าน
วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ


วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

กันยายน 2556
           วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.


หมายเหตุ

           อาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อเข้ามุม ซึ่งกลุ่มดิฉัน ทำเรื่อง ตกปลา



อุปกรณ์

กล่องกระดาษ

กรรไกร

กาว

กาว 2 หน้า

กระดาษสี

กระดาษร้อยปอนด์

แม่เหล็ก

ตะเกียบ , โฟม , เชือก , ฝาน้ำ

สี

ดินสอ/ยางลบ/กระดาษ


ขั้นตอนการทำ
  1.   ตัดกล่องกระดาษเฉียงลงมาพอประมาณ
  2. นำกระดาษสีมาแปะตามที่วางแผนกันไว้
  3. วาดรูปใส่กระดาษร้อยปอนด์ พร้อมตกแต่งระบายสี
  4. ตัดรูปที่ระบายสีแล้วตามแบบและติดแม่เหล็กตรงมุมด้านบนทุกตัว   พร้อมตกแต่งภายในกล่อง
  5. มาเชือกมาผูกกับไม้ตะเกียบและนำเชือกร้อยฝาขวดและติดแม่เหล็กทำเป็นเบ็ดตกปลาพร้อมตกแต่งให้สวยงาม

      
ความรู้เพิ่มเติม

แม่เหล็ก (magnet) หมายถึง วัตถุที่สามารถดึงดูดกับสารแม่เหล็กได้ เช่น เหล็ก นิกเกิล โคบอลต์
เส้นแรงแม่เหล็ก (line of magnetic force) เป็นเส้นที่นักวิทยาศาสตร์กำหนดขึ้น โดยใช้ลูกศรแสดงทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็กที่พุ่งออกจากขั้วเหนือเข้าสู่ขั้วใต้ โดยเส้นแรงแม่เหล็กไม่ตัดกัน
สนามแม่เหล็ก (magnetic field) หมายถึง บริเวณที่แม่เหล็กสามารถส่งแรงดึงดูดไปถึง
สมบัติของแม่เหล็ก 

แม่เหล็กมีสมบัติ ดังนี้
            1. แม่เหล็กสามารถดึงดูดโลหะบางชนิดได้
            2. แม่เหล็กมี 2 ขั้ว คือ ขั้วเหนือ และขั้วใต้
            3. เมื่อแขวนแท่งแม่เหล็กทิ้งลงในแนวดิ่งแล้วหมุนอย่างอิสระในแนวราบ หลังจากหยุดนิ่ง แท่งแม่เหล็กจะวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้
            4. ขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะออกแรงผลักกัน แต่ถ้าขั้ว ต่างชนิดกันจะดึงดูดซึ่งกันและกัน

ประโยชน์ของแม่เหล็ก 
            1. ใช้ประโยชน์ในการแยกเหล็กออกจากวัตถุอื่นๆ
            2. ใช้งมวัสดุที่เป็นเหล็กในน้ำ
            3. ใช้ทำเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า
            จะเห็นว่าภายในโลกประกอบด้วยสิ่งต่างๆ มากมาย ทั้งที่สัมผัสได้โดยตรง เช่น ดิน หิน แร่ และไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรง เช่น สนามแม่เหล็ก สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างมาก โดยเฉพาะเปลือกโลกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา



ภาคผนวกในการทำสื่อกลุ่มดิฉัน







 2 กันยายน 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED  3207 เวลา  14.10 - 17.30 น.


หมายเหตุ
           
              ไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์ติดประชุม