วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

กันยายน 2556
           วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.


หมายเหตุ

           อาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อเข้ามุม ซึ่งกลุ่มดิฉัน ทำเรื่อง ตกปลา



อุปกรณ์

กล่องกระดาษ

กรรไกร

กาว

กาว 2 หน้า

กระดาษสี

กระดาษร้อยปอนด์

แม่เหล็ก

ตะเกียบ , โฟม , เชือก , ฝาน้ำ

สี

ดินสอ/ยางลบ/กระดาษ


ขั้นตอนการทำ
  1.   ตัดกล่องกระดาษเฉียงลงมาพอประมาณ
  2. นำกระดาษสีมาแปะตามที่วางแผนกันไว้
  3. วาดรูปใส่กระดาษร้อยปอนด์ พร้อมตกแต่งระบายสี
  4. ตัดรูปที่ระบายสีแล้วตามแบบและติดแม่เหล็กตรงมุมด้านบนทุกตัว   พร้อมตกแต่งภายในกล่อง
  5. มาเชือกมาผูกกับไม้ตะเกียบและนำเชือกร้อยฝาขวดและติดแม่เหล็กทำเป็นเบ็ดตกปลาพร้อมตกแต่งให้สวยงาม

      
ความรู้เพิ่มเติม

แม่เหล็ก (magnet) หมายถึง วัตถุที่สามารถดึงดูดกับสารแม่เหล็กได้ เช่น เหล็ก นิกเกิล โคบอลต์
เส้นแรงแม่เหล็ก (line of magnetic force) เป็นเส้นที่นักวิทยาศาสตร์กำหนดขึ้น โดยใช้ลูกศรแสดงทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็กที่พุ่งออกจากขั้วเหนือเข้าสู่ขั้วใต้ โดยเส้นแรงแม่เหล็กไม่ตัดกัน
สนามแม่เหล็ก (magnetic field) หมายถึง บริเวณที่แม่เหล็กสามารถส่งแรงดึงดูดไปถึง
สมบัติของแม่เหล็ก 

แม่เหล็กมีสมบัติ ดังนี้
            1. แม่เหล็กสามารถดึงดูดโลหะบางชนิดได้
            2. แม่เหล็กมี 2 ขั้ว คือ ขั้วเหนือ และขั้วใต้
            3. เมื่อแขวนแท่งแม่เหล็กทิ้งลงในแนวดิ่งแล้วหมุนอย่างอิสระในแนวราบ หลังจากหยุดนิ่ง แท่งแม่เหล็กจะวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้
            4. ขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะออกแรงผลักกัน แต่ถ้าขั้ว ต่างชนิดกันจะดึงดูดซึ่งกันและกัน

ประโยชน์ของแม่เหล็ก 
            1. ใช้ประโยชน์ในการแยกเหล็กออกจากวัตถุอื่นๆ
            2. ใช้งมวัสดุที่เป็นเหล็กในน้ำ
            3. ใช้ทำเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า
            จะเห็นว่าภายในโลกประกอบด้วยสิ่งต่างๆ มากมาย ทั้งที่สัมผัสได้โดยตรง เช่น ดิน หิน แร่ และไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรง เช่น สนามแม่เหล็ก สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างมาก โดยเฉพาะเปลือกโลกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา



ภาคผนวกในการทำสื่อกลุ่มดิฉัน







 2 กันยายน 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED  3207 เวลา  14.10 - 17.30 น.


หมายเหตุ
           
              ไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์ติดประชุม







 26  สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED  3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.



กิจกรรมงานมุทิตาจิต อาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์







 19 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED  3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.


        
     วันนี้เพื่อนๆนำเสนอการทดลองให้ดูและอาจารย์ให้คำแนะนำไปปรับปรุงให้งานดียิ่งขึ้นไป และได้บอกวิธีการสอนให้ฟัง

แอมป์   นำเสนอการทดลอง : เป่าลูกโป่งในขวด
ปูนิ่ม      นำเสนอการทดลอง : อากาศต้องการที่อยู่

พี่อ๊อฟ   นำเสนอการทดลอง : กระป๋องบุบ
จ๋า         นำเสนอการทดลอง : มหัศจรรย์กระดาษ

 12 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED  3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.



        ประวัติวันแม่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ



ประวัติวันแม่

      แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
2. จัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

การจัดงานวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย

งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน


สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่




      สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย




 5 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 EAED  3207 เวลา  14.10 - 17.30 น.



           


     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอยู่ในช่วงวันสอบกลางภาคของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556   

   



29 กรกฎาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 EAED  3207  เวลา 14.10 - 17.30 น.


         อาจารย์ให้นักศึกษาไปเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ  วันที่30 กรกฎาคม 2556 เป็นวันสอบกลางภาค และอาจารย์ก็ได้สั่งงาน ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ในครั้งต่อไป




28 กรกฎาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED 3207 เวลา 14.10 - 17.30 น.

 วันนี้อาจารย์ขอนัดสอนเพิ่มเติมและวันนี้อาจารย์ก็ให้นักศึกษานำเสนอวิธีการทำของเล่นของแต่ละคนซึ่งมีดังนี้

เตย                ทำเฮรีคอปเตอร์กระดาษ
เฟิร์น              ทำไก่กระต๊าก
ฝน                 ทำกังหันลมจิ๋ว
แอม               ทำโบว์ลิ่ง
อีฟ                 ทำใบพัดสามแฉก
ตาล               ทำลูกข่างกระดาษ
หลัน              ทำลูกข่างจากแผ่น CD
ริตา               ทำเรือพลังยาง
ปูนิ่ม              ทำคอปเตอร์จากไม้ไอติม
ฝน                ทำรถไถจากหลอดด้าย


           ซึ่งในวันนี้การนำเสนอของเล่น ของนักศึกษาแต่ละคนก็ได้ ข้อแนะนำเพื่อนำมาปรับใช้ได้ในวันข้างหน้า   และในครั้งต่อไปอาจารย์จะให้นักศึกษานำเสนอ การทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นเข้ามุมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในครั้งต่อไปค่ะ





22  กรกฎาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
EAED3207  เวลา 14.10 - 17.30  .


หมายเหตุ


                    หยุดอาสาฬหบูชา



        วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ" คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม"
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนา และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระสงฆ์"[6]
ดังนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ซึ่งควรพิจารณาเหตุผลโดยสรุปจากประกาศสำนักสังฆนายกเรื่องกำหนดพิธีอาสาฬหบูชา ที่ได้สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาไว้โดยย่อ ดังนี้
1. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
2. เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมจักร์ ประกาศสัจจธรรม อันเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
3. เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ในวันนั้น
4. เป็นวันแรกที่บังเกิดสังฆรัตนะ สมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ



15  กรกฎาคม  2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207  เวลา 14.10 - 17.30 น.


อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้  ดังนี้
หยก  :  นำเสนอเรื่อง เลี้ยงลูกบอลด้วยลม
ออย  :  นำเสนอเรื่อง กังหันลม
เฟิร์น :  นำเสนอเรื่อง ไก่กระต๊าก
อ๊อฟ  :  นำเสนอเรื่อง เครื่องบินแรงดันอากาศ
แอม  :   นำเสนอเรื่อง ไปเป้เป่าลม
จู      :   นำเสนอเรื่อง ปืนขวดน้ำ
ริตา  :   นำเสนอเรื่อง  เรือพลังยาง
ปริม  :   นำเสนอเรื่อง  จานหมุนมีชีวิต
ปรางค์ :  นำเสนอเรื่อง  กล้องผสมสี
ไอซ์    :   นำเสนอเรื่อง ขวดผิวปาก
             อาจารย์ให้นักศึกษาที่ออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์หน้าชั้นเรียน เอาสิ่งที่นำเสนอไปลงในบล็อกของตนเอง โดยให้บอกวิธีการทำต่างๆอย่างละเอียดพร้อมรูปภาพประกอบ และคาบหน้าให้นักศึกษาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ของตนเองมา 1 ชิ้น และเตรียมอุปกรณ์มา 1 ชุด เพื่อที่จะนำมาสาธิตวิธีการทำแก่เพื่อนที่จับคู่กัน



       ชื่อของเล่น รถพลังลม



        อุปกรณ์
1      .     กระดาษแข็ง
2      .     แก้วกระดาษ                                      
3      .     หลอดดูดน้ำ
4      .     ตะเกียบไม้
5      .     เทปกาว
6      .     กาวน้ำ
7      .     ฝาขวดพลาสติก


 วิธีทำ

       1. ตัดหลอดดูดน้ำ 2 หลอดให้ยาวกว่าด้านกว้างของกระดาษแข็งเล็กน้อย  ตัดกระดาษให้เป็นรูปวงกลม 4 อัน  ตะเกียบไม้ คู่  และฝาขวดน้ำ ฝา


      2. ตัดกระดาษแข็งเพื่อเป็นฐานของรถ อาจจะใช้กระดาษสีลายต่างๆ ติดเพื่อเพิ่มความสวยงาม  แล้วติดตะเกียบไม้ไว้ด้านล่างของฐาน ทั้ง 2 สองข้าง


     3.  ใช้กระดาษแข็งที่ตัดเป็นวงกลม ติดในฝาขวด ให้ครบทั้ง ฝา แล้วเจาะรู

    4. หลังจากนั้น ใช้ฝาขวดติดปลายตะเกียบไม้ทั้ง 4 ด้าน และ นำมาติดกับฐานกระดาษแข็งที่ทำไว้แล้ว

    5.  ติดแก้วไว้บนฐาน และตกแต่งให้สวยงาม พร้อมเล่น


วิธีเล่นรถพลังลม

ใช้ปากเป่าเพื่อให้รถเคลื่อนตัวไปข้างหน้า   สามารถเล่นแข่งกันได้เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน

รถพลังลมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
"แรงดันอากาศ" คือ แรงที่เกิดจากอนุภาคของอากาศที่เคลื่อนที่ชนกันเองตลอดเวลาในทุกทิศทางพุ่งมาชนผนังภาชนะ  ดังที่ประดิษฐ์  รถพลังลมขึ้น ซึ่งการเล่นรถพลังลม ก็ต้องใช้อากาศ โดยเราเป่าปากแก้ว เพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้  โดยใช้เล่นแข่งกันได้ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และความสนุกสนาน